สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 26 มิถุนายน-2 กรกฎาคม 2566

 

ข้าว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
1) ข้าวนาปี ปี 2566/67 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.375 ล้านไร่ ผลผลิต 25.761 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 413 กิโลกรัม ลดลงจากปี 2565/66 ที่มี
เนื้อที่เพาะปลูก 62.977 ล้านไร่ ผลผลิต 26.632 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 423 กิโลกรัม หรือลดลงร้อยละ 0.96 ร้อยละ 3.27 และร้อยละ 2.36 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าลดลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลให้ฝนมาล่าช้า และคาดว่าปริมาณฝนจะน้อยกว่าปี 2565 โดยในช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2566
จะเกิดสภาวะฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำในด้านการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่แล้งซ้ำซากนอกเขตชลประทาน ส่งผลให้เกษตรกรบางพื้นที่ปล่อยที่นาให้ว่าง และบางพื้นที่ปลูกข้าวนาปีได้เพียงรอบเดียว สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าลดลง เนื่องจากปริมาณฝนน้อยจากการเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ส่งผลต่อการงอกของต้นกล้า และการสร้างรวงของต้นข้าวที่เติบโต
ได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้ ยังเสี่ยงพบโรคและแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น ไหม้คอรวง เพลี้ยไฟ เป็นต้น รวมทั้งปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยังคงมีราคาสูง เกษตรกรจึงปรับลดปริมาณการใช้ ส่งผลให้ในภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศลดลง
คาดการณ์การเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2566/67 เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 โดย
เดือนเมษายน-มิถุนายน 2566 มีการเพาะปลูกข้าวนาปี จำนวน 43.731 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 70.12 ของเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีทั้งหมด ทั้งนี้ คาดว่าผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2566
2) ข้าวนาปรัง ปี 2566 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2566 มีเนื้อที่เพาะปลูก 11.888 ล้านไร่ ผลผลิต 7.722 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 650 กิโลกรัม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 9.547 ล้านไร่ ผลผลิต 6.171 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 646 กิโลกรัม หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.51 ร้อยละ 25.14 และร้อยละ 0.62 ตามลำดับ เนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และปริมาณน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ
มีมากกว่าปี 2565 ซึ่งเป็นผลมาจากในช่วงเดือนกันยายน 2565 มีพายุโนรูเข้าประเทศไทย ทำให้มีฝนตกหนัก และปริมาณน้ำฝนสูงกว่าค่าปกติ รวมทั้งราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้อยู่ในเกณฑ์ดี ประกอบกับเกษตรกรบางส่วนปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม โดยขยายเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นในพื้นที่นาที่เคยปล่อยว่าง สำหรับผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก และการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ผลผลิตออกสู่ตลาด คาดการณ์ผลผลิตออกสู่ตลาดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2566 โดยคาดว่าผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2566 ปริมาณรวม 4.728 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 61.23 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2566 มีผลผลิตออกสู่ตลาดปริมาณ 7.398 ล้านตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 95.81 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
 
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,882 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,849 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.24
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 10,022 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,975 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,850 บาท ราคาลดลงจากตันละ 31,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,690 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,330 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.20
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 855 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,061 บาท/ตัน) ราคาลดลง
จากตันละ 868 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,066 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.50 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 5 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 518 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,212 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 520 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,012 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 200 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 518 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,212 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 526 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,220 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.52 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 8 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 35.1592 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 กรมข้าว: แนะนำเกษตรกรทำนาเปียกสลับแห้ง ลดการใช้น้ำรับมือเอลนีโญ
อธิบดีกรมการข้าวแนะนําเกษตรกรที่จะเพาะปลูกข้าวนาปีให้ทำนาด้วยวิธีเปียกสลับแห้ง ซึ่งเป็นวิธีที่
ไม่ต้องขังน้ำในแปลงนาตลอดเวลา แต่รับน้ำเข้าแปลงนาเฉพาะช่วงที่ต้นข้าวต้องการน้ำมากเท่านั้น ทำให้ลดปริมาณการใช้น้ำ
ในการทำนา เพื่อรองรับสภาวะเอลนีโญ
สำหรับการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง เป็นการทํานาโดยควบคุมระดับน้ำในแปลงนาให้มีช่วงน้ำขังกับช่วงน้ำแห้ง สลับกันไปในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศ ทำให้ต้นข้าวสามารถดูดปุ๋ยได้ดีขึ้น ช่วยให้เกษตรกรลดการใช้ปุ๋ย เมื่อต้นข้าวดูดอาหารได้ดี ต้นข้าวจะแข็งแรง ลดการระบาดของโรคและแมลง ลดการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปด้วย เมื่อต้นข้าวแข็งแรงจะแตกกอได้มากขึ้น รวงข้าวสมบูรณ์ ได้รับผลผลิตเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การทํานาแบบเปียกสลับแห้งเหมาะสำหรับพื้นที่นาในเขตชลประทานที่ควบคุมการระบายน้ำได้ โดยใช้ปริมาณน้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าวิธีปลูกข้าวแบบทั่วไป ร้อยละ 30-50 รวมทั้งยังลดปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุแบบ
ไร้อากาศ เมื่อปลูกข้าวแบบขังน้ำเป็นเวลานานได้อีกด้วย นอกจากนี้ ประโยชน์ที่ชาวนาจะได้รับจากการทํานาแบบเปียกสลับแห้งอีกประการ คือ การขายคาร์บอนเครดิต ที่สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ ซื้อขายผ่านแพลตฟอร์มตลาดซื้อขาย (Trading Platform) หรือศูนย์ซื้อขายคาร์บอนเครดิตที่ตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ โดยเปิดบัญชีโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) กับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) และซื้อขายในระบบทวิภาค (Over-the-counter: OTC) ซึ่งเป็นการตกลงกันระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ขายโดยตรง ดังนั้นการทํานาแบบเปียกสลับแห้งจึงให้ประโยชน์ทั้งในด้านการลดต้นทุนการผลิต เช่น ค่าสูบน้ำเข้านา ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย เป็นต้น ขณะเดียวกันเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มจาก
การขายคาร์บอนเครดิต
อธิบดีกรมการข้าว กล่าวเสริมว่า ขณะนี้หลายพื้นที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วง เกษตรกรที่ยังไม่ได้เพาะปลูก
ควรรอให้ฝนตกสม่ำเสมอก่อน จึงเริ่มเตรียมแปลงเพื่อลดความเสี่ยงที่ข้าวจะเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ ตลอดจน
ให้สํารองน้ำไว้ใช้ในช่วงที่ฝนตกน้อยด้วย
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
2.2 กรมการข้าว: เริ่มดำเนินการนาแปลงใหญ่พร้อมเร่งเกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ดี เพื่อลดต้นทุน สร้างมาตรฐานส่งออก
นายสุวิทย์ เผือกจีน ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาท เปิดเผยว่า ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาทสนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอุทัยธานี ลดต้นทุนการผลิตข้าวตามนโยบายของกรมการข้าว โดยเมื่อปี 2565 โครงการนาแปลงใหญ่ได้ดำเนินการจัดซื้อเครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ทำการเกษตร สำหรับปีงบประมาณ 2566 กรมการข้าวดำเนินโครงการส่งเสริมการเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี คุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด และโครงการ BCG Model ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเพิ่มคุณภาพข้าวสู่มาตรฐานการส่งออก สำหรับในส่วนของการถ่ายทอดความรู้เรื่องต้นทุนการผลิตข้าว นั้น ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาทได้จัดการอบรมเกษตรกร เรื่อง วิธีการลดต้นทุนตามที่กรมการข้าวให้คำแนะนำ คือ "3 ต้องทำ 3 ต้องลด" ซึ่ง "3 ต้องทำ" ได้แก่ ต้องปลูกข้าวไม่เกิน 2 ครั้งต่อปี ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี และต้องทำบัญชีฟาร์ม ส่วน "3 ต้องลด" ได้แก่ ลดอัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าว ลดการใช้ปุ๋ยเคมีให้เหมาะสม และลดการใช้สารเคมี
นางวลัยลักษณ์ กะการดี นักวิชาการเกษตรชำนาญการ กล่าวว่า การส่งเสริมเกษตรกรเรื่องการลดต้นทุนการผลิตข้าว สิ่งที่ต้องทำ คือ จะต้องสำรวจโรคแมลงและจดบันทึกบัญชีฟาร์ม เพื่อให้รู้ต้นทุนว่าเกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารป้องกันกำจัดโรคกำจัดแมลงมากน้อยเพียงใด เพื่อจะได้ทราบว่าสามารถลดต้นทุนในส่วนไหนได้บ้าง
ซึ่งศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวชัยนาทได้จัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ และให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตในโครงการต่างๆ รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านข้าวหรือให้คำปรึกษาเรื่องโรคและแมลง เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว
มีความสะดวกสบายในการทำการเกษตร และมีรายได้เพิ่มขึ้น
ที่มา และไทยรัฐออนไลน์
 
2.3 อินเดียและปากีสถาน เผชิญกับปัญหาภายในด้าน “ความต้องการข้าว” พุ่งสูงขึ้น
สถาบันวิจัยนโยบายอาหารนานาชาติ เปิดเผยว่า ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2565 เป็นต้นมา ราคาธัญพืชทั่วโลก โดยเฉพาะข้าวสาลีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปรับสูงขึ้น และราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังรัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2565 และราคายังคงสูงต่อเนื่องต่อไปอีกหลายเดือน ขณะที่ราคาข้าวยังคงที่ เนื่องจากผู้ส่งออกรายใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบจากสงคราม แต่ในระยะหลังตั้งแต่ช่วงปลายปี 2565 ราคาข้าวเริ่มปรับขึ้นจากเดิม โดยเฉพาะราคาส่งออกของผู้ส่งออกรายใหญ่ทั้งสองประเทศ ได้แก่ ไทย และเวียดนาม
ทั้งนี้ ราคาส่งออกข้าวไทยในช่วงไตรมาสแรกของ ปี 2566 เพิ่มขึ้นเป็น 495 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน
(ตันละ 17,404 บาท) สูงกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2565 ร้อยละ 13 และเวียดนามราคาส่งออกเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 9.6 สะท้อนถึงภาวะขาดแคลนผลผลิตข้าวที่เริ่มปรากฏชัด เนื่องจากประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อีกสองประเทศ คือ อินเดีย และปากีสถาน ต่างเผชิญกับปัจจัยภายในที่ทำให้ผลผลิตลดลงอย่างรวดเร็ว โดยอินเดียเริ่มมีการจํากัดการส่งออก
ตั้งแต่ปลายปี 2565 เพื่อให้ผลผลิตเพียงพอกับความต้องการในประเทศ และปากีสถานผลผลิตเสียหายถึงร้อยละ 31 จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ ทำให้ในปี 2566 เป็นปีแห่งความท้าทายของตลาดข้าวอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจาก
ความต้องการข้าวเพื่อบริโภคเพิ่มสูงสุดขึ้นเป็นประวัติการณ์
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ: อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ = 35.1592 บาท

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.76 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.46 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.72 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.93
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.48 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.69 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.65 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 360.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,650.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 370.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,809.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.70 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 159.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 597.00 เซนต์ (8,363.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 651.00 เซนต์ (8,990.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.29 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 627.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนมิถุนายน 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.815 ล้านตัน (ร้อยละ 2.49 ของผลผลิตทั้งหมด) ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (ร้อยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว พื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่มีฝนตกต่อเนื่อง ทำให้ผลผลิตมันสำปะหลัง และเชื้อแป้งมีคุณภาพลดลง สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลังทยอยเปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.76 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 2.77 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.36
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.87 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.91 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.58
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.32 บาท ราคาทรงตัวที่กิโลกรัมละ 8.32 บาท เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.46 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.40 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,280 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวที่ตันละ 262.50 ดอลลาร์สหรัฐ (9,130 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,880 บาทต่อตัน)  ราคาทรงตัวที่ตันละ 562.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (19,570 บาทต่อตัน) เท่ากันกับในสัปดาห์ก่อน


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมิถุนายนจะมีประมาณ 1.517 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.273 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.588  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.286 ล้านตันของเดือนพฤษภาคม 2566 คิดเป็นร้อยละ 4.47 และร้อยละ 4.55 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.39 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.60 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.75
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.05 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 30.98 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.23  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียมีแผนจะปรับเพิ่มสัดส่วนการผสมน้ำมันมันปาล์มในน้ำมันดีเซล เป็นร้อยละ 40 (บี40) ใน 2 – 3 ปีข้างหน้า จากเดิมที่มีสัดส่วนการผสมร้อยละ 35 (บี35) แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ยังไม่มีการดำเนินการใช้ บี35 อย่างเต็มที่ เนื่องจากยังมีเครื่องมือบางอย่างที่ต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมสำหรับรองรับการผสม บี35 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,945.00 ริงกิตมาเลเซีย (30.33 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตัน 3,693.97 ริงกิตมาเลเซีย (28.14 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.80 
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 924.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.87 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 921.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.28 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.33
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         - บริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting เตือนว่า ผลผลิตน้ำตาลในภาคกลาง – ใต้ของประเทศบราซิล    ในปี 2567/2568 อาจมีปริมาณสูงมาก เนื่องจากโรงงานขยายกำลังการผลิต และมีแนวโน้มมุ่งเน้นไปที่การผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อยน่าจะสูงขึ้นด้วยปัจจัยการผลิตที่ต่ำ และอาจมีอ้อยที่เหลือจากฤดูกาลนี้ประมาณ 15 ล้านตัน
         - Conadesuca รายงานว่า ประเทศเม็กซิโกสิ้นสุดการเก็บเกี่ยว โดยผลิตน้ำตาลได้ต่ำสุดในรอบทศวรรษที่ 5.22 ล้านตัน และคาดการณ์เพิ่มเติมว่า ผลผลิตน้ำตาลของเม็กซิโกในปี 2566/2567 จะฟื้นตัวเป็น 6 ล้านตัน       แม้พื้นที่หนึ่งในสามของประเทศยังคงอยู่ในภาวะแห้งแล้ง ด้านบริษัทที่ปรึกษา Grupo Consultor de Mercados Agricolas (GCMA) ตั้งข้อสังเกตว่า ราคาขายส่งน้ำตาลในเดือนมิถุนายนของเม็กซิโกเพิ่มขึ้น 8 % รวมถึงราคาเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลก็เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน

 


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,501.44 เซนต์ (19.33 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 1,496.65 เซนต์ (19.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 409.18 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.34 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 421.85 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.78 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.94
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 61.10 เซนต์ (47.19 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 57.24 เซนต์ (44.21 บาท/กก.)  ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.28


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.50 บาท
ในสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 4.84
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 997.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,013.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.10 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.03 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 853.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.02 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 867.80 ดอลลาร์สหรัฐ (30.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.61 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,284.00 ดอลลาร์สหรัฐ (45.15 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,304.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 882.60 ดอลลาร์สหรัฐ (31.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 896.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,134.80 ดอลลาร์สหรัฐ (39.90 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,153.00 ดอลลาร์สหรัฐ (39.94 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.58 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 43.24 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 9.99
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.78 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,926 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,910 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.84 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,393 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  78.62 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 79.00 คิดเป็นร้อยละ 0.48 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 82.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 75.61 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 78.95 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 76.46 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 1,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 73.50 คิดเป็นร้อยละ 4.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.65 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 16.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.13 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 59.75 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 355  บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 357 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.56 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 345 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 337 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 364 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.12 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 398 สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 397 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 405 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 381 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 416 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 445 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 91.63 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.61 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100. 27 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 89.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 75.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 71.08 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.26 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.67 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.15 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 26 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ  
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 63.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 61.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคสูงขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.26 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 79.27 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.01 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.39 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 121.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.95 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 155.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 115.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.83 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 72.90 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคคงที่
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 240.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.06 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท และปลาป่น
ชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 37.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.40 บาท